วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของกระชายดำ ใน AVATA

                                          ประโยชน์ของกระชายดำ
         สรรพคุณของกระชายดำ
         สมุนไพรมากคุณค่าตามตำรายาแผนโบราณ " กระชายดำ " จัดว่าเป็นสมุนไพร และ เป็นยาอายุวัฒนะที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค และ วงการแพทย์แผนไทย  เพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ จากประสบการณ์ของผู้ที่บริโภคกระชายดำมีรายงานว่า บำรุงกำลัง, บำรุงหัวใจ, แก้ใจสั่นหวิว, รักษาอาการมือเท้าเย็น ,อาการขัดเบา, แก้ลมวิงเวียน, แน่นหน้าอก, ขยายหลอดเลือดหัวใจ, โรคเกาต์, ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น, ผิวพรรณผุดผ่องสดใส ( แต่ต้องกินติดต่อกันนานประมาณ 20 - 30 วัน จึงจะเริ่มเห็นผล )
         ในตำรายาไทยที่กล่าวขานกันมากถึงสรรพคุณของ " กระชายดำ " คือ เพิ่มฮอร์โมนบำรุงกำลังทางเพศ( โดยเฉพาะท่านชาย ) ลดอาการปวดเมื่อย, เมื่อยล้า, ปวดข้อ, ปวดหลัง เนื่องจากการทำงานหนัก หรือ ยืน, เดินเป็นเวลานาน                         
   1. ฤทธิ์ต้านอักเสบ
       สาร 5,7ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน, ไฮโดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารนี้ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนนและเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy)
    2. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
          สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน
    3. พิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity)
          จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ
    4. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง
       มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัดด้วยเอธานอลของกระชายดำมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta)ละลดการหดเกร็งของลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน 
        สมุนไพรกระชายดำ มีอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ AVATA
       ปริมาณและราคาจำหน่าย
       1 กล่อง ราคาขายปลีกกล่องละ 2,400 บาท 
   ดูข้อมูลที่   http://avataminerygold.blogspot.com        
   สนใจติดต่อสั่งซื้อหรือสอบถาม ได้ที่
   คุณ วีระชัย  ทองสา   โทร. 085-0250423 ,084-6822645
          อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น